มลพิษทางเสียงหมายถึงเสียงที่มากเกินไปหรือรบกวนซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพของมนุษย์ และคุณภาพชีวิต มีสาเหตุมาจากหลายแหล่ง เช่น การจราจร การก่อสร้าง กิจกรรมทางอุตสาหกรรม และความบันเทิง การสัมผัสกับมลภาวะทางเสียงในระดับสูงเป็นเวลานานอาจส่งผลให้สูญเสียการได้ยิน ความเครียด การนอนหลับไม่สนิท ปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ และปัญหาสุขภาพอื่นๆ
เพื่อลดมลพิษทางเสียง รัฐบาลและองค์กรต่างๆ ใช้กฎระเบียบ อุปสรรคทางเสียง และมาตรการลดเสียง การกระทำส่วนตัวเช่นการใช้ที่อุดหูหรือหูฟังตัดเสียงรบกวนสามารถช่วยลดผลกระทบที่เป็นอันตรายจากมลพิษทางเสียงได้
กฎหมายมลพิษทางเสียงเสียงกี่ดังเดซิเบลผิดกฎหมาย
สำหรับในประเทศไทยมีหลายหน่วยงานในเรื่องความดังเสียงซึ่งขึ้นอยู่ว่าแหล่งกำเนิดมลพิษทางเสียง มาจากที่ใดซึ่งได้แก่กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานจราจรทางบก กรมโรงงานและสำนักงานคุ้มครองแรงงานในอุตสาหกรรมเป็นต้น โดยพิจารณาจากแหล่งกำเนิดเสียง
แหล่งกำเนิดเสียงที่มาจากบ้านพักอาศัย
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มีการกำหนดมาตรการในการควบคุมปัญหามลพิษทางเสียงได้แก่
การกำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไปกฎหมายตามมาตรา 32 ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ และค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ ในสิ่งแวดล้อมที่มีคนอยู่หรืออาศัย
วิธีการคำนวณค่าระดับเสียงเฉลี่ยดูเพิ่มเติมที่ https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2020/06/pcdnew-2023-02-02_02-27-39_405433.pdf
แหล่งกำเนิดเสียงที่มาจากที่อื่นๆ เช่นการจราจร การทำงานในอุตสาหกรรม
การกำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษทางเสียงจากแหล่งกำเนิด เช่น ประกาศกระทรวงเรื่องกำหนดระดับเสียงของรถยนต์ จักรยานยนต์ และเรือกล ประกาศกระทรวงเรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมระดับเสียงและความสั่นสะเทือนจากการทำเหมืองหิน เป็นต้น
2. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 กำหนดเสียงดังจากสถานประกอบการต้องไม่เกินค่ามาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการต้องมีหน้าที่กำจัดเสียง และความสั่นสะเทือนในโรงงานไม่ให้เป็นที่เดือดร้อน เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง และดูแลรักษาระบบเก็บเสียงให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยตลอดเวลา
3. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับ เฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานในแต่ละวันมิให้เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งถ้าเกินมาตรฐานต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดหรือทางผ่านของเสียงเพื่อไม่ให้ระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับอยู่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด
4. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2531) เรื่องกำหนดรายละเอียดการตรวจสภาพรถยนต์ที่จะจดทะเบียนได้ ว่าต้องผ่านการตรวจระบบการกรองเสียงด้วย
5. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มีบทบัญญัติที่ว่าด้วยการห้ามมิให้นำรถที่มีเสียงดังซึ่งอาจทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนรำคาญมาใช้ในทางเดินรถ นอกจากนั้นยังมีการประกาศกำหนดเกณฑ์เสียงที่เกิดจากเครื่องยนต์ของรถยนต์อีกด้วย
ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก กำหนดให้แตรรถยนต์และรถจักรยานยนต์ต้องเมีเสียงดังไกลเกินระยะ 60 เมตร หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท และ มาตรา 14 การบีบแตรควรใช้เมื่อจำเป็นหรือใช้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น ไม่ควรบีบยยาว ๆ หรือบีบซ้ำเกินจำเป็นหากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 500 บาท
6. พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มีบทบัญญัติว่าด้วยการกำหนดสภาพ เครื่องอุปกรณ์ และส่วนควบของรถ เช่น มีเครื่องระงับเสียง มีเครื่องยนต์และเสียงแตรที่ไม่ทำให้เกิดเสียงเกินเกณฑ์ที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
นอกจากนั้นห้ามนำเสียงแตรที่มีเสียงทำให้เกิดความรำคาญหรือรบกวนสาธารณชนมาใช้ ซึ่งถ้าไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษปรับและไม่อาจนำรถดังกล่าวไปจดทะเบียนหรือต่อทะเบียนได้
หมายเหตุ
ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นและอาจมีความผิดพลาดจากการพิมพ์ หรือมีการแก้ไขกฎหมายใหม่ ดังนั้นจึงเป็นเพียงข้อมูลในชั้นต้นเท่านั้น